🌸 Tasha Reviews 🌸

เพิ่งเล่นจบ #13: South of Midnight

Tasha Strong
Tasha Strong

น้อยเกมที่สามารถจะ capture ฟีลลิ่งของเราในวัยเด็กไว้ได้ ในวัยที่เราโตมากับเกมเจนเนอเรชั่นที่ 5 ถึง 7 ที่มีเกมแนว adventure platformer เต็มตลาด ความสนุกของเกมเหล่านั้นคือความสั้นของมัน กับสีสันที่ดูสะดุดตา ลองนึกถึงตอนที่เล่น Rachet & Clank ภาคแรกๆ Sly Cooper หรือแม้กระทั่งเกมแบบ Spyro ยิ่งโตเกมเหล่านี้ก็หายไปจากตลาด ด้วยความที่ค่ายใหญ่ไม่ค่อยลงทุนกับเกมแนว AA แล้ว เราก็ต้องไปพึ่งอินดี้เอาแทน มันทำให้ช่าเซอไพร์สที่ Compulsion Games ผู้ผลิตเกมอย่าง We Happy Few (ถ้าพูดตรงๆ ก็ออกมาครึ่งๆ กลางๆ) นั้น ยิบเอา genre นี้มาทำเกม แล้วทำได้เกือบจะสมบูรณ์สะด้วย กับการยกเอา setting แถบ American South ที่เราไม่ค่อยเห็นในสื่อเกมมา และเอานิทานและตำนานพื้นบ้านมาเป็นกระดูกสันหลังของเกม IP น้องใหม่ที่ชื่อว่า South of Midnight

และถึงแม้ว่าช่าจะคิดว่าระบบต่อสู้อาจจะยังทำไม่ถึง เกมนี้มันทำให้ช่ามาความสุขและเศร้าในเวลา 12 ชั่วโมงกว่าที่ใช้ในการเคลียร์เกม กับเนื้อเรื่องที่กินใจ และความตลกร้ายที่ตัดกันได้อย่างดี

Hazel my queen!

ในเกมนี้เราจะได้รับบทเป็นวัยรุ่นสาว Hazel สึ่งน้องเป็นลูกครึ่งผิวดำและผิวขาว ผู้ที่อยู่ในเมือง Prospero (เอาจริงๆ ก็ Louisiana นั้นแหละ) ตัว setting ของเกมที่อยู่แถวนั้นมันสำคัญต่อตัวเนื้อเรื่องที่เกมอยากจะเล่ามาก แล้วถือว่าเลือก location ได้อย่างคิดมาดี เพราะว่าทีมงานไม่กลัวที่จะเล่าเรื่องธีมหนักๆ หรือความโหดร้ายในประวัติศาสตร์ ที่แค่เดือนผ่านบ้านใหญ่ๆ ก็รู้แล้วว่ามันเป็นบ้านและนานายทาสเก่า ทำเอาจุกกันไปพลางๆ แถมตัวเกมก็ยังเล่าความโหดร้ายในปัจจุบัน กับเฮอริเคนลูกใหญ่ที่จะเข้าในแถบเมืองนั้นบ่อยๆ และมันเป็นปัจจัยหลักของเนื้อเรื่องเกมนี้ เพราะ Hazel ได้พลาดจาก Lacey แม่ของเธอที่ติดอยู่ในบ้าน ทำให้ Hazel ต้องออกเดินทางตามหาแม่ในเรื่องราวอันหน้าประหลาดใจ (ประหลาดจริงเพราะอยู่ดีๆ Hazel ก็พบว่าตัวเองมีพลัง weave วิญญาณ)

เกมมันสวยจริงๆ นะพวกคุณ

แล้วตัวเกมนั้นเล่าขยี้สิ่งเหล่านี้ได้ดีมากๆ ผ่านการเล่าเรื่องผ่านภาพ นับตั้งแต่การวางของไว้ในบ้าน บ้านแจ้งย้ายออกที่ติดไว้หน้าบ้านคนยากไร้ symbolism ต่างๆ ที่เราจะเห็นได้ในเกมทั้งหมด มันไฮไลท์ความเจ็บปวดทรมาร ความเสียดาย trauma และความเหลื่อมล้ําทางสังคมได้อย่างดี โดยเฉพาะการเหยียดสีผิวที่คนผิวดำนั้นต้องประสบ และสิ่งที่เด็กลูกครึ่งต้องเจอ

เรื่องเล่าแห่งวันวาน

ความหนักเหล่านี้เนี้ยแหละที่ทำให้เนื้อเรื่องของ South of Midnight มันเฉิดฉายอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับเกม adventure platformer อื่นๆ ในทุกสมัย และการยิบ Southern gothic folklore มาเล่านั้น ทางทีมงานนั้นทำได้ดีและถึงมาก ถึงแม้จะเป็นคนที่ไม่ค่อยรู้อะไรมาก ตัวเกมมันทำให้ช่าต้องกูเกิ้ลหาตำนานจริงๆ มาอ่านเพราะทำได้น่าสนใจสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นพี่จระเข้จากฟอริด้าอย่าง Two-Toed Tom หรือแมงมุมที่ลักพาตัวเด็ก (นิยายหลอกเด็กไม่ให้ออกจากบ้านตอนดึกนั้นแหละ) อย่าง Huggin Molly ก็ใส่เข้ามาได้อย่างธรรมชาติมากๆ แถมยังเอาตำนานเหล่านี้มาเล่าและขยี้ความโหดร้ายที่ตัวละครในเกมนั้นต้องเจอได้อย่างจุก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนักๆ อย่างการฆ่าตัวตาย การทารุนเด็ก และอีกมากมายที่ขออุบไว้ก่อน และการใส่นิยายเข้ามาในการเล่าไม่ได้ทำให้หัวข้อเหล่านี้มันดูซอฟลง แต่เล่าง่ายขึ้นและเห็นภาพคิดตามได้

อาจจะไม่ได้ตรงเผง แต่ตอกหน้าเรื่องความเหยียดได้อย่างชัด

แต่สิ่งที่ช่านั้นรู้สึกได้จากการเล่น แต่ก็ไม่กล้าออกความเห็นมากด้วยความที่ช่าไม่ใช่คนผิวดำ นั้นก็คือความยากลำบากของพวกเค้า Compulsion Games ตั้งใจเรื่องราวการ struggle ของพวกเค้าจริงๆ ไม่ว่าจะยุคสมัยไหน แม้แต่กับคนในบ้านกันเองที่ยังมาความกดๆ กัน หรือ flashback ที่เราจะได้เห็นหลายๆ อัน ก็ทำให้รู้สึกอึนและเข้าใจหัวอกพวกเค้าได้มากขึ้น แถมการเก็บดีเทลเล็กๆ แม้กระทั่งเสื้อที่น้อง Hazel ใส่ใน chapter นั้นๆ ก็ยังมีการเล่าเรื่องอะไรหลายๆ อย่างกับประเด็นนี้

ปีศาจในตำนานที่โครตน่าเกรงขาม

และอีกอย่างที่แบกการเล่าเรื่องของเกมนี้ที่ไม่พูดถึงก็ไม่ได้ก็คงเป็น soundtrack ที่ทำออกมาได้สุดยอดมาก เพลงเพราะทุกเพลง และเพลงเหล่านี้นั้นก็มาหลาย genre ที่แตกต่างกัน ฟังไม่หน้าเบื่อ แต่ว่าทุก genre นั้นจะมีรากมาจากคัลเจอร์ของคนผิวดำในอเมริกา ไม่ว่าจะเป็ฯ bluegrass, blues, jazz หรือแนว souls ก็ทำออกมาได้แกรนมากๆ ในแต่ละบทเพลงเหล่านี้มันจะค่อยๆ เล่นแบบช้าๆ ไม่มีเนื้อร้อง แล้วตัวเกมก็จะค่อยๆ ขยี้ความรู้สึกเรา พอเพลงดังขึ้นพร้อมกับเนื้อเพลงที่เขียนอธิบายความรู้สึกบอสที่เราสู้ทั้ง 6 เท่านั้นแหละ โอ๋โห้ มันปังปุริเย่มากๆ ช่าแพ้ทางการเอาเพลงเล่าเรื่องจริงๆ

หน้าต่าง Lore ที่รวมข้อมูลไว้ให้อ่าน ทำออกมาอย่างดี

แต่ถึงแม้ตัวเนื้อเรื่องโดยรวมแล้วจะมีธีมหลักๆ กับความหนักใจหน่วงๆ แต่ก็อดพูดไม่ได้ว่าตัวเกมก็มีช่วงที่รู้สึกแผ่วไปนิดนึงในประมารองสอง ส่วนตัวแล้วคิดว่าถ้าเกมมันยาวกว่านี้ และมีเวลาเล่าเรื่องเพิ่มสักนิดนึง น่าจะดีมากๆ เพราะเกมนั้นมีทั้งหมด 14 บท แต่เอาจริงๆ บทแรกกับบทสุดท้ายมันเป็นแค่ prologue กับ outro มันเลยทำให้เดา structure ของเกมที่จะมีบทหลัก/ลอง สลับกันไปมาได้ แต่ด้วยความน่าติดตามก็ทำให้ตรงนี้เป็นแค่ปัญหา nitpick เล็กๆ ส่วนตัวของช่า เพราะภาพรวมมันก็ยังเป็นการเล่าเรื่องที่ออกมาได้โหดอยู่ดี

อย่างกะกินอกไก่ไม่หมักซอส

แต่สิ่งที่รู้สึกว่าไม่ค่อย magical หรืออินกะมันเลยก็คงไม่พ้นระบบต่อสู้ที่เกรินๆ เอาไว้ เพราะมันรู้สึก barebone ไปเลย อารมณ์เหมือนไม่ค่อยได้ความใส่ใจนัก เพราะน้อง Hazel นั้นทำได้แค่ 4 คอมโบสตริง ในการกดสี่เหลี่ยม 4 ที ส่วนสกิลที่เกมจะให้เรามานั้นก็โอเคแหละ มีสกิลดึง พลัก สตั้น และให้ศัตรูเป็นพวกเราชั่วขณะ (ตีเพื่อนตัวเอง) แต่พวกอัพเกรดสกิลเหล่านี้ไม่ค่อยได้ช่วยอะไรมากนัก เหมือนบังคับว่าต้องใส่ๆ มา 555+ แถมพวกศัตรูก็ดันมา spongy (ตายยาก) สะอีก แต่ก็ยังถือว่าโชคดีเพราะตัวคอมแบทไม่ได้มีเยอะขนาดนั้น

ดูเอาเองคุณ น่าค้นหาขนาดไหน

ซึ่งการสำรวจ (80% ของเกมเพลย์) นั้นทำออกมาได้อย่างดี เล่นแล้วรู้สึกถึงน้ำหนักในการกระโดนไปๆ มาๆ หรือการปีนหิน เพราะมีอนิเมชั่นที่ทำออกมาได้พริ้วด้วย และการที่เกมค่อยๆ ใส่ mechanics เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้มันรู้สึกไม่น่าเบื่อ มีอะไรใหม่ๆ ให้ลองทำตลอด และที่ประใจที่สุดก็คงเป็นการที่เราบังคับตุ๊กตาน้องเน่าแก้ puzzle เก็บของเนี้ยแหละ มันเบสิคก็จริงแต่มันน่ารักมาก เลยรู้สึกว่าการที่ตัวเกมยาวแค่ 10-14 ชั่วโมงมันเลยเป็นข้อดีมากๆ ของเกมไปเลย เพราะเกมจะจบก่อนที่มันจะรู้สึกหน้าเบื่อ

ดู!! ดูมันวิ่ง!!!

และไม่ใช่แค่นั้น เกมยังมี collectibles ให้เก็บหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นอัพเกรดเพิ่มเลือด, skill points (ถึงแม้ช่าไม่ได้อินกะสกิลสักเท่าไหร่) และโน้ตที่อธิบาย lore หลายๆ อย่าง ทั้งในเกมและนอกเกมเกี่ยวกับตำนานนิทานพื้้นบ้าน มันน่าสนใจและน่าตามเก็บสำหรับเรา และเกมยังมีระบบ chapter select ให้กลับไปเก็บของที่อาจจะตกหล่นด้วย มันเลยมี replay value มากขึ้น และ completionist ก็คงจะสบายใจขึ้นเรื่องเก็บของ

สะดวกสบายในการเก็บของ

ก่อนจะปิดรีวิวก็อยากจะพูดถึงกราฟฟิคแล้วความสวยของเกมนี้ เป็นอีกเกมนึงที่จัดจ้านในเชิงภาพ ตัวเกมไม่ได้ realistic หรืออะไร แต่ stylised graphic ที่ทำออกมาเหมือนดินน้ำมัน stop motion กับการ animate ตัวละครในคัทซีนและเกมเพลย์ให้เป็นอย่างนั้น (ปิดได้ถ้าขัดตา) มันเป็นอะไรที่ยกระดับทุกอย่างไปอีกขั้นไม่ว่าจะเป็นการสำรวจแม๊พ (จะได้มีอะไรสวยๆ ดู) หรือการรีพรีเซ้นตำนานเหล่านี้ที่ไม่ค่อยได้เล่าในสื่อ แถมสีที่ใช่ก็ได้แบ่งพาร์ทของเกมแบบเห็นได้ชัด visually เกมนี้ไม่เคยรู้สึกน่าเบื่อเลยเพราะมีอะไรมาให้ดูตลอด และดีไซน์ตัวละครก็สุดปัง ไม่ว่า Hazel แม่ Lacey ย่า Bunny และตัวอื่นๆ ที่ต้องไปเห็นเองแล้วจะว้าว

She IS queen!

ถ้าจะให้นิยามเกมนี้ในไม่กี่คำ ก็คงจะนิยามว่า “ตรงไปตรงมา” ของมัน ก็อาจจะเป็นข้อเสียในแง้ของระบบต่อสู้ที่อาจจะเบสิกไปหน่อย แต่มันก็ตรงไปตรงมาในความไม่สับสอนจนเกินไปของการสำรวจหรือ puzzle ต่างๆ และการเล่าเรื่องแบบบ้านๆ ที่เก็ทง่ายและมีเมสเสจลึกซึ้ง มันทัชใจผู้เล่นอย่างเราได้อยู่หมัด และทำให้เราสนใจเกี่ยวกับตำนาน American South ได้ แถมมีกระแส Sinners ด้วย ยิ่งทำให้น่าสนใจเข้าไปใหญ่

ในความดาร์คและตลกร้ายของเกมนี้มันมีแสงให้กำลังใจเยอะมาก อยากให้ลองเล่นกันดูสักครั้ง มันไม่ใช่ผลงาน 10/10 หรืออะไรหรอก แต่มันเป็นเกมที่ unique อย่างมากอีกเกมหนึ่ง

4/5


รีวิวอื่นๆ

เพิ่งเล่นจบ #12: Monster Hunter Wilds

"การกลับมาของเกมล่ามอนที่ทุกคนรัก กับมุมมองของแฟนคลับ casual ของเรา + บ่นอะไรก็ไม่รู้รีวิวนี้ ไปอ่านเนื้อข้างในละกัน"

Tasha Strong
Tasha Strong

เพิ่งเล่นจบ #11: Cabernet

"เกมแวมไพร์แนว narrative RPG ยุค 19th กับบททดสอบสุดหินด้วยของบริบทที่ว่า 'โลกบังคับให้เราร้าย' ที่มากับตัวละครและเนื้อเรื่องอันน่าประทับใจ (และบัคที่ทำให้อยากร้องไห้ T_T)"

Tasha Strong
Tasha Strong